วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

🌻บทความเกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย🌻

ชื่อบทความ : ศิลปะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

     ศิลปะยังถูกมองว่าเป็นเรื่องของงานอดิเรก ทำเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่จริงจัง จึงพบว่าผู้ใหญ่ในวันนี้สนับสนุนให้ลูกเรียนวาดเขียน เรียนดนตรีมากขึ้นก็จริง แต่ต้องเป็นการเรียนพิเศษในยามว่างมีน้อยครอบครัวที่จะสานพรสวรรค์ของเด็กไปสู่การวางเป้าหมายชีวิตทางศิลปะ เห็นได้เสมอว่า พ่อแม่จะ เสริมแรงและให้ความชื่นชมเมื่อเด็กทำคะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ได้ดีมากกว่าเมื่อเด็กเอางาน ศิลปะมาอวด ซึ่งที่จริงแล้วหากเด็กมีความสนใจอย่างจริงจัง พ่อแม่ก็ควรส่งเสริมและให้ความสนับสนุนอย่าง เต็มที่ในสิ่งที่เขาถนัด



     ในแง่ของสภาพสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งแตกต่างกันระหว่างปัจจุบันและอดีต ทำให้เด็กมีการ รับรู้และสั่งสมการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน เนื้อหาของศิลปะจึงผิดแผกแตกต่างกันไปด้วย หากจะได้เด็กวาดภาพ บ้าน สภาพบ้านของเด็กสมัยก่อนย่อมแตกต่างจากบ้านของเด็กสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างรูปลักษณ์ของบ้าน สิ่งแวดล้อมภายในและนอกบ้าน รวมไปถึงจำนวนสมาชิกในครอบครัว เช่น สมัยก่อนอาจมีภาพของสมาชิกหลายรุ่น เนื่องจากเป็นครอบครัวขยาย ส่วนปัจจุบันเป็นสภาพครอบครัวเดี่ยว เด็กสมัยนี้จึงมักจะวาดภาพเฉพาะ พ่อแม่พี่น้องเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศิลปะเป็นสื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้อย่างดี โดยถ่ายทอดออกมาจากการรับรู้และการเรียนรู้นั่นเอง เด็กได้อะไรจากศิลปะบ้าง หากจะสรุปถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากศิลปะก็มีอยู่หลายประการ เช่น

📌ศิลปะเป็นสื่อที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้อย่างแนบเนียน เพราะศิลปะต้องใช้สมองสายตาและ ทักษะของมืออย่างมาก มีการวิจัยพบว่าการฝึกให้เด็กเคลื่อนไหว ว่องไว ใช้มือได้ดี มีความสัมพันธ์กับพัฒนาทางการพูด การใช้ถ้อยคำ ส่งเสริมไหวพริบเชาวน์ปัญญา ยิ่งเด็กสามารถใช้มือได้อย่างคล่องเพียงไรก็จะยิ่งใช้ ภาษา ใช้ความคิดได้ดียิ่งขึ้นเพียงนั้น

📌ศิลปะช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการที่กว้างไกล จากการศึกษาพบว่าหากฝึก จินตนาการอย่างสร้างสรรค์เพียงวันละ 3 – 5 นาทีทุกวัน จะช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวในตัวเด็กและทำให้เด็กมี สมาธิในการเรียนดีขึ้น

 📌ศิลปะเป็นสิ่งที่ช่วยระบายอารมณ์ที่ซ่อนเร้น ทำให้เพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ ในทางจิต เวชก็ใช้ศิลปะการวาดภาพเป็นเครื่องมือในการบำบัดด้วยเช่นกัน ภาพวาดลายเส้นสีสันของเด็กที่ประสบภัยสึนามิ หรือประสบภัยวิกฤตจากสงครามความรุนแรง จะแสดงออกถึงอารมณ์กลัวโกรธที่กดดันอยู่ ภายในได้ชัดเจน 

📌ศิลปะช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต เช่น ของไกลกับของใกล้จะมีสีสันไม่เหมือนกันและมีขนาดแตกต่าง กัน และช่วยให้รู้จักการแก้ปัญหาด้วย เช่น จะวาดภาพให้ดูเป็นภาพสามมิติได้อย่างไร ทำอย่างไรภาพจึงดูเคลื่อนไหวนิ่มนวล จะปั้นภาพอย่างไรให้สามารถตั้งได้ไม่ลืม ซึ่งเด็กอาจใช้การแก้ปัญหาด้วยการลองผิดลองถูก หรือศึกษาจากหนังสือตำรา นอกจากนั้น ศิลปะยังช่วยสร้างนิสัยรักการปฏิบัติให้แก่เด็กอีกด้วย
เพราะศิลปะเป็นสิ่งที่ต้องมีการลงมือกระทำ ในเมื่อศิลปะให้ประโยชน์อย่างมากมาย แล้วเราจะกระตุ้นเด็กให้รักศิลปะและเรียนศิลปะอย่างถูกวิธีได้ อย่างไร จึงจะฉกฉวยประโยชน์จากศิลปะได้มากที่สุด สิ่งที่พ่อแม่และผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงก็คือ ศิลปะไม่ต้องการความสำเร็จของงาน เช่น สวยไม่สวย แต่มุ่งเน้นที่ทำแล้วจะก่อให้เกิดความสุข และความเพลิดเพลิน ท่าทีของพ่อแม่ เมื่อเด็กอายุได้ 2 ขวบ จะจับดินสอได้ก็อยากทดลองขีดเขียน และอาจลงมือขีด เขียนลงบนฝาผนังบ้านหรือพื้นห้อง ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะทนให้พื้นห้องฝาผนังบ้านสกปรกไม่ได้ ก็จะตี ดุ หรือลงโทษ ทำให้ไปชะงักพัฒนาการในเรื่องทักษะการใช้มือของเด็ก 



ที่มา👉🏻Click here👈🏻


วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

Learning Log 3
-🌻Thursday 24th January 2019🌻-
08:30-12:30


ความรู้ที่ได้รับ📝   



     วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีพัฒนาการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์

✏️ทฤษฎีของกิลฟอร์ด
     เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวประกอบของสติปัญญา
     🔻 เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
     🔻 ความมีเหตุผล
     🔻 การแก้ปัญหา

อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ คือ
🔘 มิติที่ 1 เนื้อหา
     เป็นมิติที่เกี่ยวกับข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด สมองทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าไปคิดเป็น ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา
🔘 มิติที่ 2 วิธีการคิด 
     แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ
     - การรู้จัก การเข้าใจ : เคยเห็น บอกได้ว่าคืออะไร
     - การจำ : เชื่อมโยงได้
     - คิดแบบอเนกนัย : คิดได้หลายรูปแบบ มีความหลากหลาย
     - เอกนัย : ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ชอบอะไรมากที่สุด
     - ประเมินค่า      
🔘 มิติที่ 3 ผลของการคิด
     แสดงผลการทำงานจากมิติที่ 1 และมิติที่ 2

✏️ทฤษฎีของทอร์แรน (แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์)
     เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นและความคิดริเริ่ม

แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ 5 ขั้น
🔘 ค้นพบความจริง หาสาเหตุ คิดค้น หาข้อมูล
🔘 ค้นพบปัญหา หาว่าอะไรคือต้นตอของปัญหา
🔘 ตั้งสมมติฐาน หาวิธีแก้ หาทางออก
🔘 ค้นพบคำตอบ หาวิธีการแก้จากสมมติฐาน
🔘 ยอมรับผลจากการค้นพบ

✏️ทฤษฎีความคิด 2 ลักษณะ
     เป็นการค้นพบการทำงานของสมองมนุษย์
🔻 การทำงานของสมอง
     - ซ้าย : ความมีเหตุผล
     - ขวา : ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ
🔻 ความคิดจินตนาการสร้างสรรค์พัฒนาได้ดีใน 4 - 7 ปี
🔻 การคิดที่เป็นเหตุผลพัฒนาใน 9 - 12 ปี และสมองเจริญเติบโจเต็มที่เมื่อ 11 - 13 ปี
     ระบบการศึกษาส่วนใหญ่มุ่งแต่พัฒนาสมองซีกซ้าย (การท่องจำ) ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่กันไป

✏️ทฤษฎีของการ์ดเนอร์
     ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา 9 ด้าน ได้แก่ ภาษา ดนตรี กีฬาการควบคุมร่างกาย มนุษยสัมพันธ์ ธรรมชาติศึกษา พลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา ตรรกวิทยาคณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์ และจิตวิเคราะห์

✏️ทฤษฎีโอตา

     ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวทุกคนสามารถพัฒนาได้
🔻 ขั้น 1 ตระหนัก : ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
🔻 ขั้น 2 ความเข้าใจมีความรู้อย่างลึกซึ้ง
🔻 ขั้น 3 เทคนิค
🔻 ขั้น 4 ตระหนักในความจริง

✏️วงจรการขีดๆเขียนๆ
     เคลล็อก จำแนกขั้นตอนเป็น 4 ขั้น
🔻 ขั้นขีดเขี่ย 2 ปี ขีดตามธรรมชาติ ขีดเป็นเส้นตรงและโค้ง ปราศจากการควบคุม
🔻 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง 3 ปี ขีดเป็นรูปร่าง เขียนวงกลมได้ ตาและมือสัมพันธ์กันมากขึ้น
🔻 ขั้นออกแบบ 4 ปี ขีดที่เป็นรูปร่างเข้ากันได้ วาดสี่เหลี่ยมได้ 
🔻 ขั้นการวาดแสดงภาพ 5 ปีขึ้นไป แยกแยะวัจถกับมาตรฐานได้ รับรู้ความจริง ควบคุมการวาดได้ เขียนภาพแสดงถึงคนและสัตว์ได้ วาดสามเหลี่ยมได้

**เด็กวาดวงกลมได้ก่อน  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  รูปร่างอื่น

✏️พัฒนาการร่างกาย
💡 ด้านการคิด
     3 - 4 ปี ตัดเป็นชิ้นส่วนได้
     4 - 5 ปี ตัดเป็นเส้นตรง
     5 - 6 ปี ตัดเป็นเส้นโค้งหรือรูปร่างต่างๆได้
💡 ด้านการเขียน
     3 - 4 ปี วงกลม
     4 - 5 ปี สี่เหลี่ยม
     5 - 6 ปี สามเหลี่ยม
💡 ด้านการพับ
     3 - 4 ปี พับและรีด 2 ทบได้
     4 - 5 ปี พับและรีด 3 ทบได้
     5 - 6 ปี พับและรีดได้อย่างคล่องแคล่ว หลากหลายแบบ
💡 ด้านการวาด
     3 - 4 ปี หัว  ตา ขา ปาก
     4 - 5 ปี หัว ตา ปาก จมูก ร่างกาย เท้า
     5 - 6 ปี 

     หลังจากนั้นอาจารย์ให้พวกเรานำงานอาทิตย์ที่แล้วทั้ง 6 ชิ้นมาจัดเรียงแสดงผลงานกันหน้าห้องค่ะ













______________________________________________

Assessment📖
Self – Assessment of Student : เข้าเรียนตรงเวลา อาจจะมีพูดคุยกับเพื่อนบ้างค่ะ 
Member Assessment : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายทฤษฎี และทุกคนต่างชื่นชมผลงานของเพื่อนๆกันค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจง่ายและยังให้ทุกคนในห้องได้ออกมาแสดงผลงานกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและชื่นชมผลงานของเพื่อนในห้องกันค่ะ



วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

Learning Log 2
-🌻Thursday 17th January 2019🌻-
08:30-12:30


ความรู้ที่ได้รับ📝
     

    
     วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้พวกเราเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 🎨👶🏼
📌 ศิลปะ 🎨 คือ งานฝีมือที่ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความปราณีต วิจตรบรรจง ไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติแต่คนใช้ปัญญา ศรัทธา พากเพียร สร้างขึ้นมา 
📌 ศิลปะแบ่งได้ 3 ประเภท
   - จิตรกรรม (การวาด)
   - ประติมากรรม (การปั้น)
   - สถาปัตยกรรม (การสร้าง,การประดิษฐ์)
📌การตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัยในศิลปะ คือ เด็กชอบวาดรูป ขีดๆเขียนๆ มีจินตนาการ ถ่ายทอดความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้ ต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่

     ต่อมาอาจารย์ให้พวกเราทำกิจกรรมโดยจะมีกิจกรรมวาดรูปและตกแต่งให้สวยงามทั้งหมด 6 รูปแบบได้แก่

   - วาดภาพตนเองตามจินตนาการ
   - วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้
   - วาดภาพจากหัวข้อ "มือน้อยสร้างสรรค์"
   - วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง
   - วาดโครงสร้างรูปร่างสัตว์ที่ชอบ 1 ชนิดและออกแบบลวดลายตามจินตนาการ
   - กระดาษร่างต่อจุดเป็นภาพ








     อาจารย์ให้ทำภายในชั้นเรียนแต่ถ้าหากทำไม่เสร็จสามารถนำกลับไปทำที่บ้านได้ค่ะ


________________________

Assessment📖
Self – Assessment of Student : ตั้งใจฟังเนื้อหาของวิชานี้และตั้งใจทำกิจกรรมวาดรูปภายในชั้นเรียนค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำงานกันทุกคน ไม่ส่งเสียงดังค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบายเนื้อหาถึงความหมาย ความสำคัญของศิลปะให้นักศึกษาได้เห็นอย่างชัดเจนพร้อมทั้งอธิบายให้ฟังง่ายๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักศึกษาและยังมีกิจกรรมศิลปะให้พวกเราทำเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ด้วยอีกค่ะ


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

Learning Log 1
-🌻Thursday 10th January 2019🌻-
08:30-12:30


ความรู้ที่ได้รับ📝
     วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เจออาจารย์ในวิชาการจัดประสบการณ์สร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ในต้นคาบอาจารย์ได้พูดคุยกับทุกคนถึงรายละเอียดของวิชานี้และข้อตกลงที่มีร่วมกันในชั้นเรียนค่ะ


     ต่อมาเมื่อพูดคุยกันเสร็จแล้วอาจารย์ให้พวกเราทำกิจกรรม ให้พวกเราวาดรูปต่อเติมรูปวงกลม , สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเมื่อวาดเสร็จอาจารย์ให้พวกเราช่วยกันตรวจคะแนนโดยใช้องค์ประกอบ คือ ความคิดสร้างสรรค์ , ความคิดยืดหยุ่น , ความคิดริเริ่มและความคิดคล่องแคล่ว




     ท้ายคาบอาจารย์ให้พวกเราจับกลุ่มกันแล้วออกไปนำเสนอคำถามท้ายบทเกี่ยวกับศิลปะที่อาจารย์นำมาให้พวกเราตอบกันและออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน




_______________________________________________

Assessment📖
Self – Assessment of Student : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชานี้และให้ความร่วมมือทุกกิจกรรมค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจง่ายและยังมีการนำกิจกรรมมาให้พวกเราได้ทำเพื่อที่จะได้เข้าใจง่ายมากขึ้น ยังได้ความสนุกสนานด้วยค่ะ